วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานศิลปะ

คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานศิลปะ

คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานศิลปะ ผู้วิจารณ์ที่ดีจำต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็นผู้รอบรู้และมีคุณธรรมประจำใจพอสรุปได้ดังนี้

1) เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางศิลปะประเภทใดประเภทหนึ่ง ที่จะวิจารณ์โดยเฉพาะและรู้ละเอียดลึกซึ้ง

2) เป็นผู้มีจิตใจรักชื่นชมในศิลปะและสุนทรียภาพอย่างแท้จริง

3) เป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวาง รักษาความเป็นกลาง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักประนีประนอมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน

4) เป็นผู้ที่มีความสามารถเชื่อมโยงวิชาความรู้อื่นๆ กับทัศนศิลป์ได้เป็นอย่างดี

5) เป็นผู้ที่มีอุดมคติในการวิจารณ์ ไม่ใช้คำวิจารณ์เป็นเครื่องมือในการทำลายผู้อื่นมีความจริงใจปราศจากอคติใดๆ

6) เป็นผู้ที่มีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิเสรีภาพของศิลปินและสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย

7) เป็นผู้ที่มีอารมณ์ และความรู้สึกเยือกเย็น หลีกเลี่ยงความรุนแรง สามารถสรุปปัญหาที่เกิดจากอารมณ์และเหตุผลได้

สรุป ในการวิจารณ์ศิลปะใดๆ ย่อมเป็นการยากที่จะวิจารณ์ได้ถูกต้องเที่ยวแท้เสมอไปเพราะอาจมีภาพลวงตาทำให้ผู้วิจารณ์เกิดความเข้าใจผิดพลาด อันมีผลให้การวิจารณ์กลายเป็นนักประชาธิปไตยทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้

1) ประโยชน์ต่อวิจารณ์ผลงานศิลปะ

1.1 ทำให้ทราบและเข้าใจแนวคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างผลงานด้านศิลปะต่างๆ

1.2 ทำให้เป็นผู้มีหลักการบนพื้นฐานของปัญญา ที่สามารถรู้ให้เหตุผลตามเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง

1.3 ทำให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะและสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

1.4 ได้แสดงออกตามประสบการณ์ด้วยเหตุผลและมีความเที่ยงธรรม

1.5 ทำให้มีความรู้สึกนึกคิด ละเอียดและประณีตอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ

1.6 ทำให้เป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ มีความรักและความใกล้ชิดวงการศิลปะอย่างกว้างขวาง

1.7 มีความภาคภูมิใจที่ได้ชมผลงานที่ได้วิจารณ์ และขอสนับสนุนให้เจ้าของผลงานได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพต่อสังคมต่อไป

 
ยกตัวอย่างเช่น


ภาพแสดงผลของการนำหลักการทางการวิจารณ์งานศิลปะมาใช้ในการคัดเลือกผู้ชนะเลิศการนำเสนอผลงานศิลปะ


2. ประโยชน์ต่อผู้สร้างผลงานทัศนศิลป์

2.1 มีโอกาสนำเสนอและอธิบายจุดมุ่งหมายแนวคิดสร้างสรรค์ในผลงานของตนเอง

2.2 รับทราบแนวความคิดและข้อมูลของผู้อื่น เพื่อนำไปปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม และพัฒนาให้ผลงานของตนดีและมีคุณค่ายิ่งขึ้น

2.3 มีโอกาสแนะนำเทคนิคและวิธีการอย่างถูกต้อง

2.4 มีขันติ เมื่อถูกกล่าวติเตียนโดยตรงและรู้จักยอมรับความเป็นจริง

2.5 ผลงานถูกวิจารณ์เกิดการรับรู้ มีประสบการณ์มากขึ้น

2.6 จิตใจเกิดพลังอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ผลงานด้านทัศนศิลป์ที่มีเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป

2.7 เกิดความรู้สึกที่ดี มีความเข้าใจกันระหว่างผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้วิจารณ์


ภาพวาดของ สมศักดิ์ รักษ์สุวรรณ เป็นภาพวาดสีน้ำมันที่แสดงให้เห็นถึงความ
แตกต่างของคนในสังคม ที่ตกแต่งด้วยสีสันเพื่อปิดบังตัวตนที่แท้จริงด้วยการใช้สีและให้สีและรูปลักษณ์เป็นตัวจำแนกความแตกต่างของคนในสังคม

โดยสรุป ในการทำงานศิลปะใดๆ ก็ตาม เมื่อทำขึ้นสำเร็จเป็นผลงานและปรากฏแก่สายตาของมนุษย์ทั่วไป ก็มักจะได้รับการกล่าวขาน ติชม ซึ่งอาจมีผลงานทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้วิจารณ์ ดังนั้น เพื่อไม่ให้ครหาหรือติเตียนเกิดขึ้น การวิจารณ์ควรเป็นไปในแนวทางสร้างสรรค์ตัวบุคคลและสังคม ในลักษณะของการให้ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้กำลังใจ สำหรับตัวผู้วิจารณ์หรือผู้ประเมินผลงานศิลปะ จำเป็นต้องมีความเข้าใจในเรื่องของสุนทรียภาพและทัศนศิลป์เฉพาะแขนงเป็นอย่างดี

หลักการวิจารณ์งานศิลป

หลักการวิจารณ์งานศิลป

การวิจารณ์งานศิลปะ เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลปะที่มองเห็น หรือทัศนศิลป์โดยตรง การวิจารณ์บางครั้งสามารถช่วยให้ผู้ดูรู้จักเลือกดู และรู้จักดูบางสิ่งบางอย่างที่อาจหลงตาไป เพราะยังขาดความรู้และประสบการณ์ ส่วนผู้สร้างผลงานก็เกิดแนวความคิดกว้างขึ้น สามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงผลงานของตนเองให้เกิดคุณค่ามากขึ้น


ปัจจุบันศิลปินด้านทัศนศิลป์มีอิสระมากขึ้น แนวความคิด สร้างสรรค์ จินตนาการจึงไร้ขอบเขต ผลงานทางทัศนศิลป์จึงออกมาหลายรูปแบบผสมผสานด้วยเทคนิคและวิธีการที่แปลกใหม่ ทำให้ผู้ที่ชมผลงานยากที่จะเข้าใจเนื้อหาและความงาม ดังนั้นเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจในทัศนศิลป์เบื้องต้น โดยเฉพาะงานจิตรกรรมและประติมากรรมควรดูและสังเกตดังนี้

1) ดูการ์ดที่ติดงานใกล้ผลงาน (ถ้ามี) บอกชื่อผู้สร้างผลงาน ชื่อผลงาน เทคนิคผลงาน ว่าทำจากอะไร แบบใด อย่างไร เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาเรื่องราวของผลงานเป็นอันดับแรก

ภาพแสดงการ์ดที่ติดงานใกล้ผลงาน (ถ้ามี) บอกชื่อผู้สร้างผลงาน ชื่อผลงาน เทคนิคผลงาน ว่าทำจากอะไร แบบใด อย่างไร เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาเรื่องราวของผลงานเป็นอันดับแรก


2) ดูว่าเป็นศิลปะสาขาอะไร ทัศนศิลป์แขนงใด ลักษณะใด และประเภทอะไร เช่นสาขาวิจิตรศิลป์ ทัศนศิลป์แขนงจิตรกรรม ลักษณะการวาดเส้นประเภทภาพหุ่นนิ่ง


3) ดูสิ่งที่ทำให้เกิดมิติในผลงานทัศนศิลป์ ได้แก่ มิติในด้านรูปภาพและรูปทรง

4) ดูส่วนประกอบของความงาม จุด (ถ้ามี) เส้น 2 ประเภท รูปร่าง 3 ประเภท (ถ้ามี) รูปทรง 3 ประเภท ความรู้สึกของสีและสีตรงข้าม แสงเงา พื้นผิว จังหวะ ความกลมกลืนของเส้น สี รูปทรง และหลักของการจัดภาพ

5) ดูเกี่ยวกับการจัดภาพมี 2 แบบ คือ

5.1 แบบประจำชาติ 2 แบบ

5.1.1 แบบไทยประเพณีรูปแบบไทยเดิม

5.1.2 แบบไทยประเพณีรูปแบบไทยประยุกต์


ภาพแสดงผลงานแบบไทยประเพณีรูปแบบไทยเดิมและแบบไทยประเพณีรูปแบบไทยประยุกต์


5.2 แบบสากล 2 แบบ


5.2.1 แบบสากล แบบร่วมสมัยมี 3 รูปแบบ

(1) รูปแบบรูปธรรม

(2) รูปแบบกึ่งนามธรรม

(3) รูปแบบนามธรรม


ภาพแสดงศิลปะ รูปแบบรูปธรรม รูปแบบกึ่งนามธรรม และ รูปแบบนามธรรม



5.2.2 แบบสากล แบบสมัยใหม่มี 2 รูปแบบ


(1) รูปแบบกึ่งนามธรรม

(2) รูปแบบนามธรรม

ภาพแสดงศิลปะ รูปแบบกึ่งนามธรรม และ รูปแบบนามธรรม


6) ดูทฤษฎีการถ่ายทอดทางทัศนศิลป์ เช่นทฤษฎีเหมือนจริง ทางปัญญา ฯลฯ

ภาพวาดพระบรมฉายลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
ผลงาน สุวิทย์ ใจป้อม แห่ง http://www.visualizer-club.com/
แสดงทฤษฎีการถ่ายทอดทางทัศนศิลป์ เช่นทฤษฎีเหมือนจริง ทางปัญญา ของศิลปินผู้วาดภาพ



7) ดูเรื่องราวที่นำมาสร้างเกี่ยวกับเรื่องใด เช่น ประวัติศาสตร์ ศาสนา ชีวิตประจำวัน ฯลฯ

ผลงาน คุณนักรบ แห่ง http://www.visualizer-club.com แสดงความเป็นอยู่ใน
ชีวิตประจำวัน

8) ดูคุณค่าทางความงามและคุณค่าทางเรื่องราว

แสดงคุณค่าทางความงามและคุณค่าทางเรื่องราว


ตัวอย่างการวิจารณ์ผลงานศิลปะ (ด้านจิตรกรรม)


ผลงานภาพเขียนสีชอล์ก ชื่อภาพ “ยักษ์” ของนพศร ณ นครพนม

การวิจารณ์

ผลงานภาพเขียนสีชอล์ก ชื่อภาพ “ยักษ์” ของนพศร ณ นครพนม เขียนภาพยักษ์ด้วยลีลาและสีสันที่แสดงการเคลื่อนไหวกระฉับกระเฉง คล้ายเป็นการผสานลีลาของการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ สีเขียว น้ำเงิน ม่วง แดง เหลือง ดำ ให้ความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจสนุกสนาน

ตัวอย่างการวิจารณ์ผลงานศิลปะ (ด้านประติมากรรม)



ประติมากรรมรูปปลา ของโทมัส โกลยา

การวิจารณ์

ประติมากรรมรูปปลา ของโทมัส โกลยา เป็นประติมากรรมแกะไม้ระบายสีสวยงาม คล้ายปลาที่มีสีสันสวยงามในตู้เลี้ยงปลา ลวดลายเป็นไปตามธรรมชาติ สีต่างๆ มากมาย เช่นสีแดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ม่วง เราอาจเลี้ยงปลาที่บ้านหรือโรงเรียนก็ได้ แต่ต้องเอาใจใส่ดูแลอย่างดีที่สุด เพราะปลามีชีวิต มีความเจ็บปวด มีความหิว ไม่ต่างไปจากเรา

โดยสรุปหลักการวิจารณ์งานศิลปะตามหลักสุนทรียศาสตร์ประกอบด้วย 1) ดูการ์ดที่ติดใกล้ผลงาน บอกชื่องาน ขนาดผลงาน 2)ดูว่าเป็นศิลปะสาขาใด 3)ดูสิ่งที่ทำให้เกิดมิติในผลงาน 4)ดูส่วนประกอบของความงาม 5)ดูการจัดภาพ 6)ดูทฤษฎีการถ่ายทอดทางศิลปะ 7) ดูเรื่องราวที่นำมาสร้างเกี่ยวกับเรื่องใดและ 8)ดูคุณค่าทางความงามและคุณค่าทางเรื่องราว






ศิลปวิจารณ์ (ความหมาย)

ศิลปวิจารณ์

ความหมายของศิลปวิจารณ์

การวิจารณ์ผลงานศิลปะโดยเฉพาะงานจิตรกรรม และประติมากรรม นับเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าการวิจารณ์นั้นเป็นไปอย่างเที่ยวธรรมและผู้วิจารณ์มีความรู้ความสามารถรอบรู้โดยกระทำไปโดยถูกทำนองคลองธรรม ย่อมเป็นการสนับสนุนให้ผู้สร้างผลงานได้ทำงานก้าวหน้าอย่างมีคุณภาพ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525,765) ได้ให้ความหมายของคำว่าวิจารณ์ว่า หมายถึง การติชมโดยยึดหลักวิชาการโดยมีความรู้เชื่อถือได้

การวิจารณ์โดยทั่วไปหมายถึง การแสดงความคิดเห็น ติชม ตามความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อการปรับปรุงแก้ไขผลงานนั้นๆ สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยสุจริตใจ

ศิลปวิจารณ์ จึงหมายถึง การแสดงความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะ เช่นภาพเขียน ภาพปั้น และการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบต่างๆทั่วไป เพื่อการเสนอแนะแก้ไขปรับปรุงโดยสุจริตใจ

ภาพแสดงผลงานทางศิลปะ ด้านภาพเขียน และงานปั้น

โดยสรุปศิลปวิจารณ์ จึงหมายถึง การแสดงความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะ เช่นภาพเขียน ภาพปั้น และการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบต่างๆทั่วไป เพื่อการเสนอแนะแก้ไขปรับปรุงโดยสุจริตใจ

การรับรู้ความงามทางศิลปะ

การรับรู้ความงามทางศิลปะ

การรับรู้ความทางศิลปะ หมายถึง การรวบรวมมวลประสบการณ์จากการเห็นด้วยการสังเกตรูปแบบของวัตถุสิ่งของต่างๆ เพื่อให้เกิดความคิดที่จะนำไปถ่ายทอดรูปแบบบนพื้นระนาบผิวต่างๆ การรับรู้เป็นกระบวนการสืบเนื่องจากการสังเกต เพื่อนำไปสู่การถ่ายทอดในการเขียนภาพ และยังหมายถึง การมองเห็นรูปทรงที่เป็นศิลปะและพยายามทำความเข้าใจกับรูปทรงที่มองเห็นนั้นๆ เป็นอาการลึกซึ้งกว่ากระบวนการใช้สายตาตามปกติธรรมดา รูปทรงที่มองเห็น คือ ภาพของผลงานศิลปกรรม อันเป็นผลที่ได้จากการจัดองค์ประกอบที่มองเห็นสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันแล้วเห็นได้ง่ายและเด่นชัดขึ้น


การรับรู้คุณค่าของความงาม
ความงามเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถรับรู้และสัมผัสได้ มนุษย์เราต่างก็พึงพอใจในความงาม และมีความสุขเมื่อได้สัมผัสกับความงาม สามารถแบ่งการรับรู้ความงามออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1. การรับรู้ความงามได้จากภายในตัววัตถุ เป็นการรับรู้คุณค่าของความงามที่เป็นคุณสมบัติภายในตัววัตถุหรือผลงานศิลปะ ปรากฏให้เห็นในลักษณะความเหมาะสมของขนาด สัดส่วน รูปร่าง รูปทรง เส้น สี แสงเงา ลักษณะผิว ฯลฯ เช่น เรารับรู้ความงามของดอกไม้ที่ถูกกำหนดมาโดยธรรมชาติปรากฏให้เห็นถึงลักษณะความเหมาะสมของของรูปร่าง ความได้สัดส่วนของกลีบดอก และสีสัน ส่วนความงามในผลงานศิลปะเกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ปรากฏให้เห็นลักษณะความเหมาะสมของการนำทัศนธาตุทางศิลปะมาจัดองค์ประกอบศิลป์

ภาพแสดงความงามของดอกไม้ที่ถูกกำหนดมาโดยธรรมชาติปรากฏให้เห็นถึงลักษณะความเหมาะสมของของรูปร่าง ความได้สัดส่วนของกลีบดอก และสีสัน

ภาพความงามในผลงานศิลปะเกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ปรากฏให้เห็น
ลักษณะความเหมาะสมของการนำทัศนธาตุทางศิลปะมาจัดองค์ประกอบศิลป์
(ผลงาน ประเทืองเอมเจริญ “ธรรม 2513” สีน้ำมันบนผ้าใบ 97x 119 ซม. )

2. การรับรู้ความงามได้จากจิตกำหนด เป็นการรับรู้คุณค่าของความงามที่เกิดจากความรู้สึกและจิตใจของแต่ละคนเป็นตัวกำหนด ดังนั้น คุณค่าความงามของวัตถุหรืองานศิลปะจึงไม่คงที่และขึ้นอยู่กับความชอบ รสนิยมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งเปลี่ยนไปตามคติความเชื่อของบุคคลหรือสังคมในแต่ละยุคสมัย

ภาพแสดงคุณค่าความงามของวัตถุหรืองานศิลปะจึงไม่คงที่และขึ้นอยู่กับความชอบ รสนิยมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งเปลี่ยนไปตามคติความเชื่อของบุคคลหรือสังคมในแต่ละยุคสมัย

3. การรับรู้ความงามได้จากสภาวะความสัมพันธ์ของวัตถุและจิตใจ เป็นการรับรู้คุณค่าของความงามที่เกิดจากสภาวะความสัมพันธ์ของวัตถุหรือผลงานศิลปะที่มีคุณค่าความงามอยู่จริง จิตใจต้องอยู่ในสภาพพร้อมที่จะรับรู้และชื่นชมต่อคุณค่าความงามในวัตถุหรือผลงานศิลปะนั้น โดยจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์บางอย่างเป็นเครื่องมือพิจารณา จึงจะเป็นการรับรู้คุณค่าของความงามที่สมบูรณ์

ภาพแสดงความงามของวัตถุเช่นพวกอัญมณี หินสีต่างๆมาประดิษฐ์เป็นเครื่องประดับเป็นการรับรู้คุณค่าของความงามที่เกิดจากสภาวะความสัมพันธ์ของวัตถุหรือผลงานศิลปะที่มีคุณค่าความงามอยู่จริง

โดยสรุป ความงามเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถรับรู้และสัมผัสได้ มนุษย์เราต่างก็พึงพอใจในความงาม และมีความสุขเมื่อได้สัมผัสกับความงาม สามารถแบ่งการรับรู้ความงามออกเป็น 3 ลักษณะ คือการรับรู้ความงามได้จากภายในตัววัตถุ เป็นการรับรู้คุณค่าของความงามที่เป็นคุณสมบัติภายในตัววัตถุหรือผลงานศิลปะ ปรากฏให้เห็นในลักษณะความเหมาะสมของขนาด สัดส่วน รูปร่าง รูปทรง เส้น สี แสงเงา ลักษณะผิว ฯลฯการรับรู้ความงามได้จากจิตกำหนด เป็นการรับรู้คุณค่าของความงามที่เกิดจากความรู้สึกและจิตใจของแต่ละคนเป็นตัวกำหนดการรับรู้ความงามได้จากสภาวะความสัมพันธ์ของวัตถุและจิตใจ เป็นการรับรู้คุณค่าของความงามที่เกิดจากสภาวะความสัมพันธ์ของวัตถุหรือผลงานศิลปะที่มีคุณค่าความงามอยู่จริง


การรับรู้ความงามทางศิลปะ(ประเภทความงาม)

การรับรู้ความงามทางศิลปะ

ประเภทของความงาม

ความงามแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ความงามที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และความงามที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์


1. ความงามที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นความงามที่ปรากฏขึ้นเองตามธรรมชาติของสิ่งต่างๆ เช่น ความงามของดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณและยามอัสดง ความงามของดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ ความงามของภูเขา ต้นไม้ ดอกไม้ ที่สัมพันธ์กลมกลืนกับบรรยากาศ ความงามของสัตว์และพืชใต้ทะเลที่มีรูปร่างและสีสันสดสวย ความงามของนกยูงเวลารำแพน ความงามของลักษณะสีขนไก่หรือขนนก ความงามในลวดลายและสีสันของแมลง เป็นต้น


แสดงความงามของดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณและยามอัสดง


แสดงความงามของดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ

ความงามของภูเขา ต้นไม้ ดอกไม้ ที่สัมพันธ์กลมกลืนกับบรรยากาศ

แสดงความงามของสัตว์และพืชใต้ทะเลที่มีรูปร่างและสีสันสดสวย

แสดงความงามของนกยูงเวลารำแพน ความงามของลักษณะสีขนไก่หรือขนนก

ความงามในลวดลายและสีสันของแมลง


2. ความงามที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เป็นความงามที่มีผลมาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นแรงดลใจในการสร้างสรรค์และถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปะที่มีความงาม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม และงานสถาปัตยกรรม เป็นต้น

ผลงานจิตรกรรมของ 2 ศิลปิน ประเทือง เอมเจริญ “รุ้งแม่โพสพ หมายเลข 4, 2538” และ ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง “ชีวิตชนบทไทย ด้วยน้ำใจจงรักภักดี”

ผลงานประติมากรรม ของ เขียน ยิ้มศิริ “ขลุ่ยทิพย์” และ ชิต เหรียญประชา) “รำมะนา”

สถาปัตยกรรม “เรือนทับขวัญ” และ “พระที่นั่งชาลีมงคลอาสน์” พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

จากแนวคิดในเรื่องคำนิยามของความงามของนักปรัชญาดังกล่าว พอสรุปได้ว่า “ความงามเป็นความพอดีของสัดส่วน ความเป็นเอกภาพของทัศนธาตุ มีองค์ประกอบศิลป์สมบูรณ์ลงตัวของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มนุษย์สัมผัสรับรู้ได้ แล้วเกิดความพึงพอใจและมีความสุข” โดยแบ่งประเภทความงามออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ความงามที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และความงามที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์

การรับรู้ความงามทางศิลปะ (ความหมายของการรับรู้ความงาม)

การรับรู้ความงามทางศิลปะ


ผลงาน Nina Gale เทคนิคสีพาสเตล

ความหมายของการรับรู้ความงามของมนุษย์
ความงามเป็นผลมาจากความรู้สึกของมนุษย์แต่ละคนอันเนื่องมาจากการได้สัมผัสกับสิ่งที่มีความงาม สามารถรับรู้ความงามได้มากน้อยต่างกัน การตีความหมายของความงามจึงต่างกันไปตามมุมมอง ดังมีปรัชญาได้ให้คำนิยามไว้เช่น


โลกราตีส (Socrates) นักปรัชญาสมัยอารยธรมกรีก ให้คำนิยามไว้ว่า ความงามคือ “ความเหมาะสมของสัดส่วน” โดยถือว่าความวามนั้นต้องมีขนาดและสัดส่วนที่สัมพันธ์กัน จนกรีกโบราณยึดถือเป็นเกณฑ์เรื่องสัดส่วนของความงามเช่น ความงามของคนแบ่งออกเป็น 8 ส่วน โดยนับศีรษะเป็นสัดส่วนที่ 1 ความงามของอาคารมีสัดส่วน 1:3:5 คือ สูง 1 ส่วน กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน ดังจะเห็นได้จากวิหารพาร์เธนอน ปัจจุบันความหมายให้คำนิยามนี้ก็ยังช้ได้อยู่ ซึ่งเราจะเห็นได้จากการออกแบบเครื่องเรือนที่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของสัดส่วนระหว่างเครื่องเรือนกัคนด้วย

อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีก ได้ให้คำนิยามไว้ว่า ความงามคือ “การเลียนแบบ” โดยกล่าวว่าความงามนั้นเป็นแบบที่มีอยู่แล้วในสรรพสิ่งที่มีอยู่บนโลกนี้ แนวคิดนี้ส่งผลให้ศิลปินกรีกแสดงความงามของเทพเจ้าเป็นประติมากรรมในรูปของมนุษย์ โดยมุ่งเน้นความสมบูรณ์ของรูปร่างทรวดทรง ศิลปินที่ยึดถือนิยามนี้นิยมสร้างงานศิลปะในลักษณะเลียนแบบเหมือนจริง (Realistic)

เฮอร์เบิร์ด รีด (Herbert Read) นักปรัชญาชาวอังกฤษ ให้นิยามไว้ว่า ความงาม คือ “ความงามเป็นเอกภาพที่สมบูรณ์ในองค์ประกอบศิลป์” นั่นก็คือความงามที่เกิดขึ้นในผลงานศิลปะ โดยการนำทัศนธาตุทางศิลปะมาจัดองค์ประกอบศิลป์ให้มีความสมบูรณ์

สนามจันทร์ เทคนิคสีน้ำ ผลงาน อ.สมพล ดาวประดับวงษ์


ความงามคืออะไร แนวคิดในเรื่องของความงามนั้นนักปรัชญาให้คำตอบไว้ 3แนวความคิด คือ

1. ความงามนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความงามนั้นขึ้นอยู่กับมนุษย์ ถ้าไม่มีมนุษย์ก็ไม่มีความงาม ทั้งนี้ก็เพราะว่า มนุษย์เป็นผู้กำหนดหรือเป็นผู้ให้คุณค่าแก่สิ่งที่ว่ามีความงาม เมื่อมนุษย์มองเห็นหรือได้ยินเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มนุษย์ก็จะเป็นผู้ตัดสินว่าสิ่งที่ได้เห็น หรือสิ่งที่ได้ยินนั้น มีความงามหรือไม่ มีความไพเราะหรือไม่ไพเราะ

เมื่อความงามขึ้นอยู่กับจิตใจของมนุษย์เช่นนี้ ปัญหาในเรื่องของความงามก็เกิดขึ้นเพราะการมองความงามของแต่ละคน จะมีความแตกต่างกันไป เช่น คน 2 คน หรือ 3 คน มองเห็นในสิ่งเดียวกัน อาจจะมีความไม่เหมือนกัน เช่น คนที่หนึ่งเห็นว่าสิ่งนั้นมีความงาม แต่อีกคนกลับเห็นว่าไม่งามตรงไหนเลย และคนต่อไปอาจไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เพราะเขาเฉยๆ ยกตัวอย่างเช่น

แสดงความงามนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจ ภาพชายงาม ในภาพชายงามภาพเดียว แต่คนที่มองเห็นในภาพเดียวกัน อาจมีความคิดเห็นทางด้านความงามที่แตกต่างกัน เหมือนกัน เช่น คนที่หนึ่งเห็นว่าสิ่งนั้นมีความงาม แต่อีกคนกลับเห็นว่าไม่งามตรงไหนเลย และคนต่อไปอาจไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เพราะเขาเฉยๆ

2. ความงามเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ หรือในตัวของวัตถุต่างๆ ความงามไม่ได้
ขึ้นอยู่กับมนุษย์ ถึงโลกนี้จะไม่มีมนุษย์ความงามนั้นก็มีอยู่แล้ว ความงามในแง่นี้เชื่อกันว่ามีแบบแผนของความงามในวัตถุ หรือธรรมชาตินั้นๆ คนจึงมีหน้าที่ค้นหาแบบแผนหรือความงามนั้นให้พบ แล้วจึงแสดงผลของการค้นพบให้ปรากฏออกมา คนที่ค้นพบแบบแผนหรือความงามนั้นได้ชื่อว่า เป็นศิลปิน ผลของการค้นพบและแสดงออกมาให้ปรากฏ นั่นคือ งานศิลปะ เช่น ดอกไม้ ภูเขา น้ำตก ทะเล ล้วนมีแบบแผนของความงามอยู่แล้วในตัวเอง มนุษย์มีหน้าที่ค้นหาแล้วจึงลอกเลียน แบบของความงามที่มีอยู่นั้นออกมาเท่านั้น
แสดงความงามเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ การค้นพบของศิลปินแสดงออกมาให้ปรากฏ ใน งานศิลปะ เช่น ดอกไม้ ภูเขา น้ำตก ทะเล โดยลอกเลียน แบบของความงามที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้นออกมา



3. ความงามนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ หรือวัตถุใดที่


มนุษย์สามารถมองเห็น พูดง่ายๆ ว่า ขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกที่มนุษย์มีอยู่กับธรรมชาติ หรือวัตถุนั้นๆ นั่นเอง มนุษย์จึงจำเป็นต้องมีการฝึกฝนจิตใจของเขาให้เข้าถึงความงาม ทั้งนี้เพื่อจะได้ยก ระดับของจิตใจหรือรสนิยมของตัวเองให้สูงขึ้นเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต การฝึกฝนดังกล่าว ต้องใช้เวลา เรียกว่า การฝึกจิตให้เกิดสุนทรียะแก่ตนเอง และถ่ายทอดออกมาเป็นความงามตามที่ได้เห็น ยกตัวอย่างเช่น

โมเนท์ จิตรกรชาวฝรั่งเศส ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี คศ. 1840-1926 เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มจิตรกรผู้บุกเบิกการวาดภาพในแนว อิมเพรสชั่น การวาดภาพตามแนว อิมเพรสชั่น นั้น จะไม่เน้นที่รายละเอียดของภาพ แต่จะเน้นที่อารมณ์ และความประทับใจที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น

จะเห็นได้ว่าโมเนท์ ต้องผ่านการฝึกฝนจิตใจของเขาให้เข้าถึงความงาม และถ่ายทอดความงามออกมาเป็นภาพวาดที่งดงาม



แสดงความงามนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ การมองเห็นธรรมชาติหรือวัตถุต่างๆ อันจะก่อให้เกิดความงามในจิตใจของมนุษย์ได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนจิตใจให้เข้าถึงความงาม ของธรรมชาติหรือวัตถุต่างๆเหล่านั้นเสียก่อน มนุษย์จึงจะสามารถถ่ายทอดความงามของธรรมชาติและวัตถุนั้นด้วยการแสดงออกมาเป็นภาพวาดได้
จากแนวคิดในเรื่องคำนิยามของความงามของนักปรัชญาดังกล่าว พอสรุปได้ว่า “ความงามเป็นความพอดีของสัดส่วน ความเป็นเอกภาพของทัศนธาตุ มีองค์ประกอบศิลป์สมบูรณ์ลงตัวของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มนุษย์สัมผัสรับรู้ได้ แล้วเกิดความพึงพอใจและมีความสุข"

งานทัศนศิลป์กับสิ่งแวดล้อม

งานทัศนศิลป์กับสิ่งแวดล้อม

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์
สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ประกอบด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่นและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์


มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลยของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลยของตัวเองได้

กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า “ทศวรรษแห่งการพัฒนา” นั้น ปรากฏว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น

- ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ


- ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้

พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา

- ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำ

ให้เกิดการแออัด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย

จนถึงภาวการณ์ปัจจุบันได้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) คือ การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากผลของภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect โดยภาวะโลกร้อน ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ, การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

นอกจากนั้นมนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน

ภาพแสดงภาวะเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน


ความพยายามในการใช้หลักการทางทัศนศิลป์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ศิลปะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการนำหลักการทัศนศิลป์ มาใช้ในการสร้างงานศิลปะ เช่น การเขียนภาพรณรงค์เพื่อลดภาวะโลกร้อน เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนหันมาร่วมมือกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรต่างๆและใช้ให้คุ้มค่า

รางวัลที่ 1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นการประกวดวาดภาพเกี่ยวกับพลังงาน ในหัวข้อ
"Big Ideas on energy to reduce global warming"
กระทรวงพลังงาน
ผลงานของ ด.ช.จิรภัทร ศกระเศณี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบวรมงคล
แนวคิดของภาพ พลังงานมีคุณค่า ฉลาดรักษ์ ฉลาดพัฒนา ช่วยคลายภาวะโลกร้อน ตอนนี้โลกกำลังร้อน เราควรคิดอะไรใหม่ๆ ไม่ทำตัวเหมือนเต่าที่ทำตัวแบบเก่าๆใช้พลังงานสิ้นเปลืองและควายที่โง่ไม่รู้จักใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ควรรู้จักใช้พลังงานทดแทน



รางวัลที่ 1 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและ ปวช. การประกวดวาดภาพเกี่ยวกับพลังงาน ในหัวข้อ
"Big Ideas on energy to reduce global warming"
กระทรวงพลังงาน
ผลงานของ นายณัฐิวุฒิ ชูมะโนวัฒน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
แนวคิดของภาพ เราบริโภคพลังงานเหมือนกับบริโภคขนมหวานซึ่งบริโภคอย่างเอร็ดอร่อยจนใกล้หมดไป แม้จะเหลือพลังงานเพียงน้อยนิดเราก็ควรรักษา และใช้พลังงานอย่างรู้ค่าและรักษาเพื่อให้คงอยู่และให้ลูกหลานให้อย่างปลอดภัยจากภาวะโลกร้อนในอนาคต


โดยสรุป งานทัศนศิลป์และสิ่งแวดล้อมมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างแยกกันไม่ออกเพราะมีธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมนุษย์เราจึงสร้างสรรค์งานศิลป์เลียนแบบธรรมชาติที่ได้มองเห็นจนเกิดความซาบซึ้งในความงามก่อให้เกิดสุนทรียภาพ สร้างสรรค์งานศิลปะที่งดงาม เพื่อประโยชน์ทางด้านจิตใจและประโยชน์
ใช้สอย