วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

หลักการวิจารณ์งานศิลป

หลักการวิจารณ์งานศิลป

การวิจารณ์งานศิลปะ เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลปะที่มองเห็น หรือทัศนศิลป์โดยตรง การวิจารณ์บางครั้งสามารถช่วยให้ผู้ดูรู้จักเลือกดู และรู้จักดูบางสิ่งบางอย่างที่อาจหลงตาไป เพราะยังขาดความรู้และประสบการณ์ ส่วนผู้สร้างผลงานก็เกิดแนวความคิดกว้างขึ้น สามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงผลงานของตนเองให้เกิดคุณค่ามากขึ้น


ปัจจุบันศิลปินด้านทัศนศิลป์มีอิสระมากขึ้น แนวความคิด สร้างสรรค์ จินตนาการจึงไร้ขอบเขต ผลงานทางทัศนศิลป์จึงออกมาหลายรูปแบบผสมผสานด้วยเทคนิคและวิธีการที่แปลกใหม่ ทำให้ผู้ที่ชมผลงานยากที่จะเข้าใจเนื้อหาและความงาม ดังนั้นเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจในทัศนศิลป์เบื้องต้น โดยเฉพาะงานจิตรกรรมและประติมากรรมควรดูและสังเกตดังนี้

1) ดูการ์ดที่ติดงานใกล้ผลงาน (ถ้ามี) บอกชื่อผู้สร้างผลงาน ชื่อผลงาน เทคนิคผลงาน ว่าทำจากอะไร แบบใด อย่างไร เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาเรื่องราวของผลงานเป็นอันดับแรก

ภาพแสดงการ์ดที่ติดงานใกล้ผลงาน (ถ้ามี) บอกชื่อผู้สร้างผลงาน ชื่อผลงาน เทคนิคผลงาน ว่าทำจากอะไร แบบใด อย่างไร เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาเรื่องราวของผลงานเป็นอันดับแรก


2) ดูว่าเป็นศิลปะสาขาอะไร ทัศนศิลป์แขนงใด ลักษณะใด และประเภทอะไร เช่นสาขาวิจิตรศิลป์ ทัศนศิลป์แขนงจิตรกรรม ลักษณะการวาดเส้นประเภทภาพหุ่นนิ่ง


3) ดูสิ่งที่ทำให้เกิดมิติในผลงานทัศนศิลป์ ได้แก่ มิติในด้านรูปภาพและรูปทรง

4) ดูส่วนประกอบของความงาม จุด (ถ้ามี) เส้น 2 ประเภท รูปร่าง 3 ประเภท (ถ้ามี) รูปทรง 3 ประเภท ความรู้สึกของสีและสีตรงข้าม แสงเงา พื้นผิว จังหวะ ความกลมกลืนของเส้น สี รูปทรง และหลักของการจัดภาพ

5) ดูเกี่ยวกับการจัดภาพมี 2 แบบ คือ

5.1 แบบประจำชาติ 2 แบบ

5.1.1 แบบไทยประเพณีรูปแบบไทยเดิม

5.1.2 แบบไทยประเพณีรูปแบบไทยประยุกต์


ภาพแสดงผลงานแบบไทยประเพณีรูปแบบไทยเดิมและแบบไทยประเพณีรูปแบบไทยประยุกต์


5.2 แบบสากล 2 แบบ


5.2.1 แบบสากล แบบร่วมสมัยมี 3 รูปแบบ

(1) รูปแบบรูปธรรม

(2) รูปแบบกึ่งนามธรรม

(3) รูปแบบนามธรรม


ภาพแสดงศิลปะ รูปแบบรูปธรรม รูปแบบกึ่งนามธรรม และ รูปแบบนามธรรม



5.2.2 แบบสากล แบบสมัยใหม่มี 2 รูปแบบ


(1) รูปแบบกึ่งนามธรรม

(2) รูปแบบนามธรรม

ภาพแสดงศิลปะ รูปแบบกึ่งนามธรรม และ รูปแบบนามธรรม


6) ดูทฤษฎีการถ่ายทอดทางทัศนศิลป์ เช่นทฤษฎีเหมือนจริง ทางปัญญา ฯลฯ

ภาพวาดพระบรมฉายลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
ผลงาน สุวิทย์ ใจป้อม แห่ง http://www.visualizer-club.com/
แสดงทฤษฎีการถ่ายทอดทางทัศนศิลป์ เช่นทฤษฎีเหมือนจริง ทางปัญญา ของศิลปินผู้วาดภาพ



7) ดูเรื่องราวที่นำมาสร้างเกี่ยวกับเรื่องใด เช่น ประวัติศาสตร์ ศาสนา ชีวิตประจำวัน ฯลฯ

ผลงาน คุณนักรบ แห่ง http://www.visualizer-club.com แสดงความเป็นอยู่ใน
ชีวิตประจำวัน

8) ดูคุณค่าทางความงามและคุณค่าทางเรื่องราว

แสดงคุณค่าทางความงามและคุณค่าทางเรื่องราว


ตัวอย่างการวิจารณ์ผลงานศิลปะ (ด้านจิตรกรรม)


ผลงานภาพเขียนสีชอล์ก ชื่อภาพ “ยักษ์” ของนพศร ณ นครพนม

การวิจารณ์

ผลงานภาพเขียนสีชอล์ก ชื่อภาพ “ยักษ์” ของนพศร ณ นครพนม เขียนภาพยักษ์ด้วยลีลาและสีสันที่แสดงการเคลื่อนไหวกระฉับกระเฉง คล้ายเป็นการผสานลีลาของการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ สีเขียว น้ำเงิน ม่วง แดง เหลือง ดำ ให้ความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจสนุกสนาน

ตัวอย่างการวิจารณ์ผลงานศิลปะ (ด้านประติมากรรม)



ประติมากรรมรูปปลา ของโทมัส โกลยา

การวิจารณ์

ประติมากรรมรูปปลา ของโทมัส โกลยา เป็นประติมากรรมแกะไม้ระบายสีสวยงาม คล้ายปลาที่มีสีสันสวยงามในตู้เลี้ยงปลา ลวดลายเป็นไปตามธรรมชาติ สีต่างๆ มากมาย เช่นสีแดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ม่วง เราอาจเลี้ยงปลาที่บ้านหรือโรงเรียนก็ได้ แต่ต้องเอาใจใส่ดูแลอย่างดีที่สุด เพราะปลามีชีวิต มีความเจ็บปวด มีความหิว ไม่ต่างไปจากเรา

โดยสรุปหลักการวิจารณ์งานศิลปะตามหลักสุนทรียศาสตร์ประกอบด้วย 1) ดูการ์ดที่ติดใกล้ผลงาน บอกชื่องาน ขนาดผลงาน 2)ดูว่าเป็นศิลปะสาขาใด 3)ดูสิ่งที่ทำให้เกิดมิติในผลงาน 4)ดูส่วนประกอบของความงาม 5)ดูการจัดภาพ 6)ดูทฤษฎีการถ่ายทอดทางศิลปะ 7) ดูเรื่องราวที่นำมาสร้างเกี่ยวกับเรื่องใดและ 8)ดูคุณค่าทางความงามและคุณค่าทางเรื่องราว






12 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 กันยายน 2554 เวลา 10:57

    ขอบคุณมากๆ เลยค๊

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ10 ธันวาคม 2554 เวลา 07:50

    ขอบคุณครับ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจารณ์งานศิลป์

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ6 มีนาคม 2555 เวลา 00:00

    อันสุดท้าย งง ที่สุด

    ตอบลบ
  4. การวิจาร์นคืออะไร

    ตอบลบ
  5. ไม่คอยละเอียดนะค่ะแต่ขอบคุณมากสำหรับข้อมูล

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ8 กรกฎาคม 2555 เวลา 06:02

    ขอบคุณค่ะ ;D

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ14 กรกฎาคม 2555 เวลา 19:44

    ดีจังมีอีกปะอย่างได้

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ3 กันยายน 2556 เวลา 20:09

    มีประโยชน์มากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ3 กันยายน 2558 เวลา 22:48

    เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากค่ะ ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ดีๆอย่างนี้

    ตอบลบ
  10. เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาของดิฉันมากเลยค่ะ

    ตอบลบ