วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรม หมายรวมถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆอีกด้วย


สถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลือในเมืองพาร์มี ร่า

ประเทศ“ซีเรีย” หรือ ที่มีชื่อเต็มว่า “สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย” (The Syrian Arab Republic)

สถาปัตยกรรม เราแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1) สถาปัตยกรรมสากล 2) สถาปัตยกรรมไทย
1) สถาปัตยกรรมสากล เป็นความพยายามออกแบบสถาปัตยกรรมให้เป็นแบบสากล (International Style) คือสามารถไปก่อสร้างที่ไหนในโลกนี้ ก็ได้โดยเมินเฉยต่อบริบทในช่วงกลางศตวรรษที่20 แต่มิได้ประสบผลสำเร็จ เพราะตอบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยไม่ได้ เนื่องจากไม่สนใจบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละถิ่นแต่ละที่



ตึกแฝดพีโตนัส ประเทศมาเลเซีย,สถาปัตยกรรมในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน
และทัชมาฮาล ประเทศอินเดีย

2) สถาปัตยกรรมไทย หมายถึง ศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่มีมูลเหตุที่มาของการก่อสร้าง การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในแต่ละท้องถิ่น จะมีลักษณะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้าง ตามสภาพทาง ภูมิศาสตร์ และคตินิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่สิ่งก่อสร้างทางศาสนา พุทธมักจะมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะมีความเชื่อความศรัทธาและแบบแผนพิธีกรรมที่เหมือน ๆ กัน สถาปัตยกรรมที่มันนิยมนำมาเป็นข้อศึกษา มักเป็น สถูป เจดีย์ โบสถ์ วิหาร หรือ พระราชวัง เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างที่คงทน มีการพัฒนารูปแบบมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และได้รับการสรรค์สร้างจากช่างฝีมือที่ เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีความเป็นมาที่สำคัญควรแก่การศึกษา อีกประการหนึ่งก็คือ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ล้วนมีความทนทาน มีอายุยาวนานปรากฏเป็นอนุสรณ์ให้เราได้ศึกษาเป็นอย่างดี สถาปัตยกรรมไทยสามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภทคือ

           2.1. สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนัก วังและพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนไม้ไผ่ ปูด้วยฟากไม้ไผ่ หลังคามุงด้วย ใบจาก หญ้าคา หรือใบไม้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เรือนเครื่องสับ เป็นไม้จริงทั้งเนื้ออ่อน และเนื้อแข็ง ตามแต่ละท้องถิ่น หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา พื้นและฝาเป็นไม้จริงทั้งหมด ลักษณะเรือนไม้ของไทยในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน และโดยทั่วไปแล้วจะมี ลักษณะสำคัญร่วมกันคือ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วเอียงลาดชัน

ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ ใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์ สำหรับพระราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระที่นั่ง เป็นอาคารที่มีท้องพระโรงซึ่งมีที่ประทับสำหรับออกว่าราชการ หรือกิจการอื่น ๆ



พระที่นั่งชาลีมงคลอาสน์,พระที่นั่งวัชรีรมยา,พระตำหนักทับขวัญและพระตำหนักทับแก้ว
พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

        2.2. สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณสงฆ์ ที่เรียกว่า วัด ซึ่งประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมหลายอย่าง ได้แก่ โบสถ์ เป็นที่กระทำสังฆกรรมของพระภิกษุ วิหารใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ และกระทำสังฆกรรมด้วยเหมือนกัน กุฏิ เป็นที่อยู่ของพระภิกษุ สามเณร หอไตร เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญทางศาสนา หอระฆังและหอกลอง เป็นที่ใช้เก็บระฆังหรือกลองเพื่อตีบอกโมงยาม หรือเรียกชุมนุมชาวบ้าน สถูปเป็นที่ฝังศพ เจดีย์ เป็นที่ระลึกอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมธาตุ และเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
2. ธรรมเจดีย์ หมายถึง พระธรรม พระวินัย คำสั่งสอนทุกอย่างของพระพุทธเจ้า
3. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ของพระพุทธเจ้า หรือ ของพระภิกษุสงฆ์ได้แก่ เครื่องอัฐบริขารทั้งหลาย
4. อุเทสิกเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า เช่น สถูปเจดีย์ ณ สถานที่ทรงประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ปรินิพพาน และรวมถึงสัญลักษณ์อย่างอื่น เช่น พระพุทธรูป ธรรมจักร ต้นโพธิ์ เป็นต้น



ธาตุเจดีย์ ดังภาพ พระปรางค์วัดอรุณ กรุงเทพฯพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน
องค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม






2 ความคิดเห็น: