วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

การรับรู้ความงามทางศิลปะ (ความหมายของการรับรู้ความงาม)

การรับรู้ความงามทางศิลปะ


ผลงาน Nina Gale เทคนิคสีพาสเตล

ความหมายของการรับรู้ความงามของมนุษย์
ความงามเป็นผลมาจากความรู้สึกของมนุษย์แต่ละคนอันเนื่องมาจากการได้สัมผัสกับสิ่งที่มีความงาม สามารถรับรู้ความงามได้มากน้อยต่างกัน การตีความหมายของความงามจึงต่างกันไปตามมุมมอง ดังมีปรัชญาได้ให้คำนิยามไว้เช่น


โลกราตีส (Socrates) นักปรัชญาสมัยอารยธรมกรีก ให้คำนิยามไว้ว่า ความงามคือ “ความเหมาะสมของสัดส่วน” โดยถือว่าความวามนั้นต้องมีขนาดและสัดส่วนที่สัมพันธ์กัน จนกรีกโบราณยึดถือเป็นเกณฑ์เรื่องสัดส่วนของความงามเช่น ความงามของคนแบ่งออกเป็น 8 ส่วน โดยนับศีรษะเป็นสัดส่วนที่ 1 ความงามของอาคารมีสัดส่วน 1:3:5 คือ สูง 1 ส่วน กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน ดังจะเห็นได้จากวิหารพาร์เธนอน ปัจจุบันความหมายให้คำนิยามนี้ก็ยังช้ได้อยู่ ซึ่งเราจะเห็นได้จากการออกแบบเครื่องเรือนที่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของสัดส่วนระหว่างเครื่องเรือนกัคนด้วย

อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีก ได้ให้คำนิยามไว้ว่า ความงามคือ “การเลียนแบบ” โดยกล่าวว่าความงามนั้นเป็นแบบที่มีอยู่แล้วในสรรพสิ่งที่มีอยู่บนโลกนี้ แนวคิดนี้ส่งผลให้ศิลปินกรีกแสดงความงามของเทพเจ้าเป็นประติมากรรมในรูปของมนุษย์ โดยมุ่งเน้นความสมบูรณ์ของรูปร่างทรวดทรง ศิลปินที่ยึดถือนิยามนี้นิยมสร้างงานศิลปะในลักษณะเลียนแบบเหมือนจริง (Realistic)

เฮอร์เบิร์ด รีด (Herbert Read) นักปรัชญาชาวอังกฤษ ให้นิยามไว้ว่า ความงาม คือ “ความงามเป็นเอกภาพที่สมบูรณ์ในองค์ประกอบศิลป์” นั่นก็คือความงามที่เกิดขึ้นในผลงานศิลปะ โดยการนำทัศนธาตุทางศิลปะมาจัดองค์ประกอบศิลป์ให้มีความสมบูรณ์

สนามจันทร์ เทคนิคสีน้ำ ผลงาน อ.สมพล ดาวประดับวงษ์


ความงามคืออะไร แนวคิดในเรื่องของความงามนั้นนักปรัชญาให้คำตอบไว้ 3แนวความคิด คือ

1. ความงามนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความงามนั้นขึ้นอยู่กับมนุษย์ ถ้าไม่มีมนุษย์ก็ไม่มีความงาม ทั้งนี้ก็เพราะว่า มนุษย์เป็นผู้กำหนดหรือเป็นผู้ให้คุณค่าแก่สิ่งที่ว่ามีความงาม เมื่อมนุษย์มองเห็นหรือได้ยินเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มนุษย์ก็จะเป็นผู้ตัดสินว่าสิ่งที่ได้เห็น หรือสิ่งที่ได้ยินนั้น มีความงามหรือไม่ มีความไพเราะหรือไม่ไพเราะ

เมื่อความงามขึ้นอยู่กับจิตใจของมนุษย์เช่นนี้ ปัญหาในเรื่องของความงามก็เกิดขึ้นเพราะการมองความงามของแต่ละคน จะมีความแตกต่างกันไป เช่น คน 2 คน หรือ 3 คน มองเห็นในสิ่งเดียวกัน อาจจะมีความไม่เหมือนกัน เช่น คนที่หนึ่งเห็นว่าสิ่งนั้นมีความงาม แต่อีกคนกลับเห็นว่าไม่งามตรงไหนเลย และคนต่อไปอาจไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เพราะเขาเฉยๆ ยกตัวอย่างเช่น

แสดงความงามนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจ ภาพชายงาม ในภาพชายงามภาพเดียว แต่คนที่มองเห็นในภาพเดียวกัน อาจมีความคิดเห็นทางด้านความงามที่แตกต่างกัน เหมือนกัน เช่น คนที่หนึ่งเห็นว่าสิ่งนั้นมีความงาม แต่อีกคนกลับเห็นว่าไม่งามตรงไหนเลย และคนต่อไปอาจไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เพราะเขาเฉยๆ

2. ความงามเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ หรือในตัวของวัตถุต่างๆ ความงามไม่ได้
ขึ้นอยู่กับมนุษย์ ถึงโลกนี้จะไม่มีมนุษย์ความงามนั้นก็มีอยู่แล้ว ความงามในแง่นี้เชื่อกันว่ามีแบบแผนของความงามในวัตถุ หรือธรรมชาตินั้นๆ คนจึงมีหน้าที่ค้นหาแบบแผนหรือความงามนั้นให้พบ แล้วจึงแสดงผลของการค้นพบให้ปรากฏออกมา คนที่ค้นพบแบบแผนหรือความงามนั้นได้ชื่อว่า เป็นศิลปิน ผลของการค้นพบและแสดงออกมาให้ปรากฏ นั่นคือ งานศิลปะ เช่น ดอกไม้ ภูเขา น้ำตก ทะเล ล้วนมีแบบแผนของความงามอยู่แล้วในตัวเอง มนุษย์มีหน้าที่ค้นหาแล้วจึงลอกเลียน แบบของความงามที่มีอยู่นั้นออกมาเท่านั้น
แสดงความงามเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ การค้นพบของศิลปินแสดงออกมาให้ปรากฏ ใน งานศิลปะ เช่น ดอกไม้ ภูเขา น้ำตก ทะเล โดยลอกเลียน แบบของความงามที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้นออกมา



3. ความงามนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ หรือวัตถุใดที่


มนุษย์สามารถมองเห็น พูดง่ายๆ ว่า ขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกที่มนุษย์มีอยู่กับธรรมชาติ หรือวัตถุนั้นๆ นั่นเอง มนุษย์จึงจำเป็นต้องมีการฝึกฝนจิตใจของเขาให้เข้าถึงความงาม ทั้งนี้เพื่อจะได้ยก ระดับของจิตใจหรือรสนิยมของตัวเองให้สูงขึ้นเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต การฝึกฝนดังกล่าว ต้องใช้เวลา เรียกว่า การฝึกจิตให้เกิดสุนทรียะแก่ตนเอง และถ่ายทอดออกมาเป็นความงามตามที่ได้เห็น ยกตัวอย่างเช่น

โมเนท์ จิตรกรชาวฝรั่งเศส ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี คศ. 1840-1926 เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มจิตรกรผู้บุกเบิกการวาดภาพในแนว อิมเพรสชั่น การวาดภาพตามแนว อิมเพรสชั่น นั้น จะไม่เน้นที่รายละเอียดของภาพ แต่จะเน้นที่อารมณ์ และความประทับใจที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น

จะเห็นได้ว่าโมเนท์ ต้องผ่านการฝึกฝนจิตใจของเขาให้เข้าถึงความงาม และถ่ายทอดความงามออกมาเป็นภาพวาดที่งดงาม



แสดงความงามนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ การมองเห็นธรรมชาติหรือวัตถุต่างๆ อันจะก่อให้เกิดความงามในจิตใจของมนุษย์ได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนจิตใจให้เข้าถึงความงาม ของธรรมชาติหรือวัตถุต่างๆเหล่านั้นเสียก่อน มนุษย์จึงจะสามารถถ่ายทอดความงามของธรรมชาติและวัตถุนั้นด้วยการแสดงออกมาเป็นภาพวาดได้
จากแนวคิดในเรื่องคำนิยามของความงามของนักปรัชญาดังกล่าว พอสรุปได้ว่า “ความงามเป็นความพอดีของสัดส่วน ความเป็นเอกภาพของทัศนธาตุ มีองค์ประกอบศิลป์สมบูรณ์ลงตัวของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มนุษย์สัมผัสรับรู้ได้ แล้วเกิดความพึงพอใจและมีความสุข"

7 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุนมากคร๊ กำลังหาเรื่องนี้พอดีเลย

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  3. ขออนุญาติเอาไปใช้ทำโครงการสถานศึกษานะครับ

    ตอบลบ
  4. ขออนุญาตนำบทความไปประกอบภาพนะคะ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณมากคับ บอกเลยเนื้อหา ตรงๆเปะหลายเว็บไม่มีเเต่เพิ่ม นักปราชญ์ หน่อยก็จะดีนะคับ

    ตอบลบ