วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานศิลปะ

คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานศิลปะ

คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานศิลปะ ผู้วิจารณ์ที่ดีจำต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็นผู้รอบรู้และมีคุณธรรมประจำใจพอสรุปได้ดังนี้

1) เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางศิลปะประเภทใดประเภทหนึ่ง ที่จะวิจารณ์โดยเฉพาะและรู้ละเอียดลึกซึ้ง

2) เป็นผู้มีจิตใจรักชื่นชมในศิลปะและสุนทรียภาพอย่างแท้จริง

3) เป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวาง รักษาความเป็นกลาง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักประนีประนอมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน

4) เป็นผู้ที่มีความสามารถเชื่อมโยงวิชาความรู้อื่นๆ กับทัศนศิลป์ได้เป็นอย่างดี

5) เป็นผู้ที่มีอุดมคติในการวิจารณ์ ไม่ใช้คำวิจารณ์เป็นเครื่องมือในการทำลายผู้อื่นมีความจริงใจปราศจากอคติใดๆ

6) เป็นผู้ที่มีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิเสรีภาพของศิลปินและสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย

7) เป็นผู้ที่มีอารมณ์ และความรู้สึกเยือกเย็น หลีกเลี่ยงความรุนแรง สามารถสรุปปัญหาที่เกิดจากอารมณ์และเหตุผลได้

สรุป ในการวิจารณ์ศิลปะใดๆ ย่อมเป็นการยากที่จะวิจารณ์ได้ถูกต้องเที่ยวแท้เสมอไปเพราะอาจมีภาพลวงตาทำให้ผู้วิจารณ์เกิดความเข้าใจผิดพลาด อันมีผลให้การวิจารณ์กลายเป็นนักประชาธิปไตยทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้

1) ประโยชน์ต่อวิจารณ์ผลงานศิลปะ

1.1 ทำให้ทราบและเข้าใจแนวคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างผลงานด้านศิลปะต่างๆ

1.2 ทำให้เป็นผู้มีหลักการบนพื้นฐานของปัญญา ที่สามารถรู้ให้เหตุผลตามเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง

1.3 ทำให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะและสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

1.4 ได้แสดงออกตามประสบการณ์ด้วยเหตุผลและมีความเที่ยงธรรม

1.5 ทำให้มีความรู้สึกนึกคิด ละเอียดและประณีตอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ

1.6 ทำให้เป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ มีความรักและความใกล้ชิดวงการศิลปะอย่างกว้างขวาง

1.7 มีความภาคภูมิใจที่ได้ชมผลงานที่ได้วิจารณ์ และขอสนับสนุนให้เจ้าของผลงานได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพต่อสังคมต่อไป

 
ยกตัวอย่างเช่น


ภาพแสดงผลของการนำหลักการทางการวิจารณ์งานศิลปะมาใช้ในการคัดเลือกผู้ชนะเลิศการนำเสนอผลงานศิลปะ


2. ประโยชน์ต่อผู้สร้างผลงานทัศนศิลป์

2.1 มีโอกาสนำเสนอและอธิบายจุดมุ่งหมายแนวคิดสร้างสรรค์ในผลงานของตนเอง

2.2 รับทราบแนวความคิดและข้อมูลของผู้อื่น เพื่อนำไปปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม และพัฒนาให้ผลงานของตนดีและมีคุณค่ายิ่งขึ้น

2.3 มีโอกาสแนะนำเทคนิคและวิธีการอย่างถูกต้อง

2.4 มีขันติ เมื่อถูกกล่าวติเตียนโดยตรงและรู้จักยอมรับความเป็นจริง

2.5 ผลงานถูกวิจารณ์เกิดการรับรู้ มีประสบการณ์มากขึ้น

2.6 จิตใจเกิดพลังอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ผลงานด้านทัศนศิลป์ที่มีเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป

2.7 เกิดความรู้สึกที่ดี มีความเข้าใจกันระหว่างผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้วิจารณ์


ภาพวาดของ สมศักดิ์ รักษ์สุวรรณ เป็นภาพวาดสีน้ำมันที่แสดงให้เห็นถึงความ
แตกต่างของคนในสังคม ที่ตกแต่งด้วยสีสันเพื่อปิดบังตัวตนที่แท้จริงด้วยการใช้สีและให้สีและรูปลักษณ์เป็นตัวจำแนกความแตกต่างของคนในสังคม

โดยสรุป ในการทำงานศิลปะใดๆ ก็ตาม เมื่อทำขึ้นสำเร็จเป็นผลงานและปรากฏแก่สายตาของมนุษย์ทั่วไป ก็มักจะได้รับการกล่าวขาน ติชม ซึ่งอาจมีผลงานทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้วิจารณ์ ดังนั้น เพื่อไม่ให้ครหาหรือติเตียนเกิดขึ้น การวิจารณ์ควรเป็นไปในแนวทางสร้างสรรค์ตัวบุคคลและสังคม ในลักษณะของการให้ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้กำลังใจ สำหรับตัวผู้วิจารณ์หรือผู้ประเมินผลงานศิลปะ จำเป็นต้องมีความเข้าใจในเรื่องของสุนทรียภาพและทัศนศิลป์เฉพาะแขนงเป็นอย่างดี

5 ความคิดเห็น:

  1. การวิจารณ์งานศิลปะต้องศึกษาหลักการก่อนนะคะ...แล้วถึงนำเอาหลักการนั้นไปประยุกต์ใช้ค่ะ...

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ14 กันยายน 2554 เวลา 22:09

    ก่อนจะหลับ ต้องปิดตาก่อนนะคะ

    ตอบลบ
  3. ขอโทดนะครับที่ผมถาม แต่ตอนนี้ผมกำลังฝึกทำบล็อกของตัวเองอยู่อ่ะครับ แต่ผมทำยังไม่ค่อยเป็นเลยอ่ะ ผมอยากถามพี่ว่า.. "ที่ตรงหัวข้อด้านขวามือบนสุด" ที่เขียนว่า.. "ผู้ติดตาม" และมีปุ่มสีฟ้าๆ ที่ให้คลิ๊กเข้าร่วมเว็บไซต์นี้ได้ มันทำยังไงอ่ะครับ ถึงจะมีโชว์ขึ้นมาให้เราเห็น งงมาก
    ช่วยตอบผมทีนะครับ ผมอยากทำเป็นกับคนอื่นเขาบ้างครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับที่ช่วยตอบ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สงสัยตอนนี้ทำเป็นแล้วมังนี่ เพิ่งเห็น

      ลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ3 กันยายน 2556 เวลา 20:16

    ชอบเนื้อหามากเลยค่ะ

    ตอบลบ