ประติมากรรม หมายถึง การปั้นและการแกะสลัก เพื่อให้เกิดรูปทรงใหม่ตามต้องการ โดยใช้วัสดุต่างๆ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึง ไม้ หิน โลหะ ปลาสเตอร์ ปูนซีเมนต์ เป็นต้นคำว่าประติมากรรมยังหมายรวมไปถึงกระบวนการในการเพิ่มลดวัสดุให้เกิดความงามด้วย
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ประติมากรรมสมัยศรีวิชัยที่งดงามที่สุด
http://www.osotho.com/th/content/indexdetail.php?ContentID=351&myGroupID=7
สำหรับคำว่า ปฏิมากรรม มักนิยมใช้เรียกผลงานปั้นแกะสลักที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น พระพุทธรูป
พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
http://www.watchari.com/board/index.php?topic=1891.0
ประติมากรรมที่นิยมทำกันหลายอย่าง เช่น
- ประติมากรรมร่องลึก
- ประติมากรรมนูนต่ำ
- ประติมากรรมนูนสูง
- ประติมากรรมลอยตัว
- ประติมากรรมร่องลึก เป็นการสลัก หรือนำส่วนย่อยออกจากส่วนใหญ่ ให้เกิดเป็นภาพหรือลวดลายต่างๆ มีลักษณะขุดลึกลงไปจากผิวหน้าของวัตถุเป็นลายเส้นหรือภาพขนาดต่างๆ เช่นการสลักหยวก หรือแกะสลักผลไม้
การแกะสลักผลไม้ ผลงาน จ่าเอกหญิงวัชรี โชติรัตน์
ประติมากรรมนูนต่ำ เหรียญที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระชมมายุครบ ๓ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๑๑ เป็นเหรียญกษาปณ์ทองคำ พินิจ สุวรรณบุณย์ ออกแบบ อำนาจ พ่วงเสรีปั้น
- ประติมากรรมนูนสูง เป็นการปั้นหรือสลักให้รูปที่ต้องการนูนขึ้นจากพื้นหลังมากกว่าครึ่ง เป็นรูปที่สามารถแสดงความตื้นลึกอย่างตามความเป็นจริง นิยมทำเป็นรูปคนหรือสัตว์ เช่น ประติมากรรมที่ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
รูปปูนปั้นนูนสูงบนประตูชัยกรุงปารีส
- ประติมากรรมลอยตัว ได้แก่ ประติมากรรมที่ปั้น หล่อ หรือแกะสลักขึ้นเป็นรูปร่างลอยตัวมองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง เช่น รูปประติมากรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ประติมากรรมรูปเหมือน และพระพุทธรูปลอยตัวสมัยต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงประติมากรรมสำหรับประดับตกแต่ง เป็นต้น
เทวรูปของทางเขมร โดยมากจะเป็นงานศิลปะที่สร้างขึ้นในรูปแบบของพุทธศาสนาผสมผสานกับฮินดู
ที่มา..ภาพทางอินเตอร์เน็ต
http://nilwatercolor.blogspot.com/
ตอบลบบล็อกร้างมิเคยขยับเขยื้อน (ฮา)
พี่อ้อยก็คลำๆเอาค่ะน้องนิล..มีปัญหาตรงแก้ไขบันทึก..ยังทำไม่เป็น..เดี๋ยวว่างจริงๆจะลองไปศึกษาวิธีการของบล็อกเขาดูอีกทีจ้า..
ตอบลบเนื้อหาน่าจะมากกว่านี้
ตอบลบ